โยฮันส์ กูเทนเบิร์ก

โยฮันส์ กูเทนเบิร์ก (JOHANNES GUTENBERG) ค.. 1400-1468



ลำดับเหตุการณ์
·        .. 1420 กูเทนเบิร์กย้ายออกจากเมนซ์ (Mainz) ไปอยู่ที่สตราสบูร์ก (Strasbourg)
·        .. 1450 กลับไปอยู่ที่เมนซ์และตั้งโรงพิมพ์ โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวๆ
·        .. 1450-1456 พิมพ์หนังสือ ปฏิทิน และหนังสือยินยอมยกโทษแก่ผู้สารภาพบาปของพระสันตะปาปา (Letter of indulgence)
·        .. 1456 พิมพ์หนังสือไบเบิล 42 บรรทัด ทำให้ชื่อเสียงโด่งดัง
·        .. 1465 อยู่ในอุปการะของอาร์คบิชอพ แห่งเมนซ์
โยฮันส์ กูเทนเบิร์ก  เกิดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในเมืองเมนซ์ ประเทศเยอรมัน ครอบครัวประกอบอาชีพทำเหรียญกษาปณ์ และงานโลหะ เขาจึงมีโอกาสได้ฝึกงานเป็นช่างแกะสลัก และช่างทอง ทักษะของกูเทนเบิร์กช่วยให้เขาประดิษฐ์แม่พิมพ์โลหะตัวอักษรแต่ละตัวด้วยมือได้เป็นครั้งแรก แม่พิมพ์โลหะคือหัวใจแห่งความสำเร็จทางด้านการพิมพ์ของเขา การพิมพ์ด้วยบล็อกไม้โดยใช้มือจับ เป็นการทำงานที่สิ้นเปลืองรงงานและเวลาอย่างมาก เพราะต้องแกะแผ่นไม้สำหรับหน้าหนังสือทั้งหน้า การทำสำเนาโดยใช้สีย้อมมีมานานหลายสิบปีก่อนที่นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันผู้มีนี้จะเกิดเสียอีก
ตัวพิมพ์เป็นตัวๆ(Moveble type)
          กูเทนเบิร์กเกิดความคิดแยบยลที่จะวางตัวอักษรโลหะไว้ในที่ชั่วคราว เพื่อให้ถอดหรือย้ายออกง่ายเมื่อพิมพ์หมดหน้าและยังกลับมาใช้พิมพ์หน้าซ้ำได้อีก เมื่อเทียบกับการใช้บล็อกไม้แกะที่เชื่องช้าและใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้ว บล็อกโลหะยังมีด้านที่ว่างซึ่งใช้แกะตัวอักษรได้อีกเป็นชุด การสร้างแม่แบบก็ทำได้รวดเร็วถือได้ว่ากูเทนเบิร์กเป็นผู้ปฏิวัติการพิมพ์ อักษรตัวพิมพ์จึงแพร่หลายไปทั่วยุโรป เชื่อกันว่ากูเทนเบิร์กเริ่มการทดลองด้วยการสร้างรูปหล่อโลหะเป็นรูปตัวอักษรเมื่อตอนปลายทศวรรษ 1430 ระหว่างที่อาศัยอยู่ในสตราสบูร์ก แต่การพัฒนาไปเป็นโรงพิมพ์ที่ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวๆ ได้สำเร็จนั้นอาจอยู่ระหว่างปี ค.. 1444 และ ค.. 1448 เมื่อเดินทางกลับสู่เมนซ์ในปี ค.. 1448 เขายืมเงินของญาติ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเขานำเงินไปใช้ลงทุนในธุรกิจการพิมพ์ สิ่งประดิษฐ์ของกูเทนเบิร์กดัดแปลงจากเครื่องหีบองุ่นโดยได้แผ่นหนึ่งเมื่อต้องการพิมพ์ก็กดส่วนบนลงมาแตะกระดาษ แต่การพัฒนาสีย้อมที่เหมาะสมกับเครื่องจักรของเขานั้นเป็นงานที่ไม่ง่ายเลย เชื่อกันว่ากูเทนเบิร์กพบคำตอบได้ในที่สุด คือ การใช้น้ำมันลินซีด (Linseed oil) ผสมกับเขม่า

คัมภีร์ไบเบิล 42 บรรทัด (Forty-two line Bible)
            ไม่มีงานพิมพ์ใดที่หลงเหลือมีชื่อของกูเทนเบิร์กอยู่เลย งานพิมพ์รุ่นแรกสุดของเขาเป็นปฏิทินประจำ ค.. 1448 แต่งานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือ พระคัมภีร์ไบเบิลที่พิมพ์เป็นครั้งแรกด้วยตัวพิมพ์เป็นตัวๆ ปัจจุบันยังเหลืออยู่ 48 เล่มจากยอดพิมพ์ทั้งหมด 200 เล่ม เรียกว่า ไบเบิล 42 บรรทัด (Forty-two lineBible)เพราะแต่ละหน้ามี 42 บรรทัด เล่ากันว่า กูเทนเบิร์กและผู้ช่วยของเขาพิมพ์ออกมาระหว่างปี ค.. 1450-1456
                ในบั้นปลายชีวิตกูเทนเบิร์กอาศัยอยู่ใต้การอุปถัมภ์ของอาร์คชิบอพ แห่งเมนซ์ ซึ่งอาจเป็นการตอบแทนคุณความดีที่เขาได้สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล แต่มีบางคนที่ยังไม่ยอมรับกูเทนเบิร์กในฐานะผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์เป็นตัวๆ แต่หันไปยอมรับ ลอเรนส์ แจนส์ซูน คอสเตอร์ (Laurens Janszoon Coster) ซึ่งมีชีวิตในช่วงเวลาประมาณ ค.. 1370-1440
                เรารู้เรื่องราวของคอสเตอร์น้อยมาก เช่นเดียวกับ กูเทนเบิร์ก คือ ไม่ปรากฏสิ่งพิมพ์ใดๆ ที่มีชื่อของเขาหลงเหลืออยู่เลยแต่มีตำนานเล่าว่าใช้แผ่นไม้มาแกะสลักเป็นตัวอักษรแต่ละตัวสำหรับไว้เล่นกับหลาน และเพื่อให้หลานเพลิดเพลินยิ่งขึ้น เขาจึงใช้สีพิมพ์คำและประโยคต่างๆ บนกระดาษ จากการกระทำนี้ เขารู้ถึงความเป็นไปได้ที่จะนำชิ้นไม้เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์คอสเตอร์รับจ้างพิมพ์โดยใช้บล็อกไม้ เชื่อกันว่าคอสเตอร์เริ่มใช้ตัวอักษรไม้เพื่อเร่งงานพิมพ์ของเขาและเป็นไปได้ที่เขาใช้ทั้งพิมพ์บล็อกและตัวพิมพ์เป็นตัวๆ ร่วมกัน แต่หลักฐานสนับสนุนคำบอกเล่านี้มีอยู่จำกัดมาก ที่เป็นจริงคงได้แก่คุณภาพอันสุดยอดของเครื่องพิมพ์และเครื่องพิมพ์และเครื่องหล่อโลหะของกูเทนเบิร์ก ซี่งมีความสำคัญเกือบเท่าๆกับ  แนวคิดของการใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวๆ
                พัฒนาการด้านการพิมพ์นี้มีผู้เห็นว่าควรยกย่องประเทศจีนที่รู้จักใช้ตัวพิมพ์เคลื่อนย้ายได้นี้มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ดี การพัฒนาความคิดของกูเทนเบิร์กเป็นไปอย่างอิสระเขาไม่ได้ล่วงรู้ถึงการพัฒนาการพิมพ์ในแบบเดียวกับของตน ที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ได้เกิดในอีกซีกโลกหนึ่ง ก่อนหน้าเขากว่าศตวรรษก็ตาม
แนวคิดของกูเทนเบิร์กสร้างผลกระทบใกล้เคียงกับที่การเกิดจาก ระบบเลขฮินดู-อารบิค มากที่สุด
มรดกของกูเทนเบิร์ก
            ในประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ การพัฒนาที่มีผลกระทบพอเทียบเคียงกับการเกิดระบบตัวเลขของชาวฮินดูโบราณในอินเดียคือ การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวๆ ถึงแม้มิใช่ผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์เสียทีเดียว แต่การเกิดของเครื่องพิมพ์คือ เครื่องมือสำคัญของการเริ่มต้นความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดสำหรับวิทยาการต่างๆในยุโรป เปิดโอกาสให้นักวิชาการได้แลกเปลี่ยนความรู้อย่างกว้างขวางและประหยัดใช้จ่าย

                พอถึงปลายศตวรรษที่ 15  หลังจากการเกิดเครื่องพิมพ์จำนวนหนังสือและจุลสารในยุโรปก็เพิ่มขึ้นเป็นเรือนหมื่น และทำหน้าที่ดังเวทีเพื่อการประทุความคิดมางวิทยาศาสตร์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น