นิโคเลาส์ โคเพอร์นิคัส

นิโคเลาส์ โคเพอร์นิคัส (NICOLAUS COPERNICUS) ค.. 1473-1543



ลำดับเหตุการณ์
·        .. 1491 โคเพอร์นิคัสเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยกราโก(Krakor)
·        .. 1510-1514 มีการเวียนอ่าน Commentariolus ซึ่งนำเสนอแนวคิดเชิงปฏิวัติ
·        ผลงานของโคเพอร์นิคัสเรื่อง De revolutionibus orbium coelestium (On the Revolution of the Celestial Spheres) ได้รับการตีพิมพ์ขณะที่เขากำลังรอความตาย แต่หนังสือถูกห้ามเผยแพร่โดยศาสนจักรนิกายคอทอลิก การห้ามถูกยกเลิกในปี ค.. 1835
แนวคิดว่าดาวเคราะห์อาจหมุนรอบดวงอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบโลก ย่อมมีผลกระทบต่อวงการดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน การถกเถียงเหตุผลในเรื่องนี้เป็นการท้าทายศาสนจักรรุนแรงที่สุด การอธิบายเรื่องโลกซึ่งเป็นสิ่งห้ามสำหรับมนุษย์ กระทำในภาพพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงอยู่เหนือสรรพสัตว์ทั้งปวง สถิตอยู่ ณ ศูนย์กลางจักรวาล ที่ทุกๆสิ่งหมุนอยู่โดยรอบ สอดคล้องกับการแปลความหมายในเรื่องจักรวาลและตำแหน่งของมนุษยชาติภายในจักรวาลของคริสตจักรแนวคิดนี้เมื่อย้อนหลังกลับไปสู่ยุคของอาริสโตเติล เป็นเรื่องถูกต้องชอบด้วยหลักแห่งศาสนา ตามความเชื่อของปโตเลมีและผู้มีอำนาจในคริสตจักร นิกายคาทอลิกยังคงคัดค้านรูปจำลองการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง หลังจากที่หนังสือของโคเพอร์นิคัสพิมพ์เป็นครั้งแรกไปเกือบ 300 ปีแล้วก็ตาม และที่น่าขันคือผู้เขียนหนังสือนี้ นิโคเลาส์ โคเพอร์นิคัส เองก็เป็นคนของศาสนา
บุรุษแห่งศรัทธา
                จริงๆแล้ว การตั้งข้อสงสัยต่อรูปจำลองที่มีโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลของปโตเลมีที่ยอมรับกันอยู่นั้นเกิดศรัทธาของโคเพอร์นิคัสเป็นเบื้องแรก เหตุใดพระเจ้าจึงทรงสร้างระบบที่ซับซ้อนมโหฬาร มีทั้งอีควอนต์ (equants- จุดจินตภาพในอวกาศซึ่งช่วยกำหนดจุดโฟกัสของการหมุนของวัตถุในท้องฟ้า) วงกลม วงเล็ก (epicycles) และวงเบี้ยว (eccentrics) เช่น ที่ปโตเลมีเสนอไว้เพื่อจะอธิบายการเคลื่อนที่ดาวเคราะห์รอบโลกจะง่ายกว่า มีเหตุผลกว่า และงามสง่ากว่าหรือไม่ ถ้าจะกล่าวว่าดาวเคราะห์ทั้งหมดหมุนรอบดวงอาทิตย์ นี่คือทฤษฎีของโคเพอร์นิคัสที่เขาทุ่มเวลาหลายปีไตร่ตรองอย่างลึกซึ่งขณะกำลังศึกษาอยู่ที่กราโกและต่อมาในอิตาลี เขาพยายามพัฒนาการศึกษาต่อไป เมื่อกลับคืนสู่โปแลนด์ เพื่อรับตำแหน่งพระในศาสนาคริสต์ที่โบสถ์ใหญ่เฟราเอนเบิร์ก (Frauenbeng Cathedrall) เขาใช้ตำแหน่งของเขาในโบสถ์เรียนรู้ให้ก้าวหน้ามากขึ้นด้วยการใช้หอระฆังของโบสถ์เป็นที่สังเกตดวงดาวอย่างเงียบๆ ตามลำพัง
โคเพอร์นิคัสใช้โบสถ์ในการสร้างความรู้ให้ก้าวหน้าอย่าแท้จริงโดยการสังเกตดวงดาวจากหอระฆัง
โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
                โคเพอร์นิคัสค่อยๆ เชื่อข้อสมมุติของตนเอทีละน้อยว่า ดวงอาทิตย์นั้นอยู่กับที่ ณ ศูนย์กลางวงโคจรของดาวเคราะห์ โดยมีโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 1 ปี ในช่วงระหว่างปี ค.. 1510 และ ค.. 1514 เข้าได้ร่าง Commentariolus ซึ่งคำอธิบายเบื้องต้นของทฤษฎี โคเพอร์นิคัสมีแนวคิดว่าตัวโลกเองหาได้อยู่กับที่ดังเช่นที่เคยเชื่อกันมาก่อนไม่ แต่หมุนรอบแกนของมันเอง รอบละ 24 ชั่วโมง คำอธิบายการเคลื่อนที่ของดวงดาวและดวงอาทิตย์ข้ามขอบฟ้าด้วย  บางทีอาจเป็นด้วยตำแหน่งหน้าที่ของเขาในโบสถ์ ทำให้เขากลัวแรงกระแทก หรืออาจเพราะเขาเป็นคนที่ต้องทำอะไรให้ดีที่สุด และตระหนักดีว่า ความคิดของเข้านี้ยังไม่ตกผลึกเต็มที่ โคเพอร์นิคัสจึงไม่ยอมตีพิมพ์ Commentariolus เพียงแต่เวียนอ่านกันในหมู่มิตรสหายแทน
การคัดค้านของศาสนาจักร
                โคเพอร์นิคัสทำงานตามแนวคิดของตนต่อไปอีก 20 ปี และแม้ว่าเมื่อถึงปี ค.. 1530 ผลงานขั้นสุดท้ายของเขาจะเสร็จแล้ว เขายังคงไม่ยอมพิมพ์หนังสือตามคำขอร้องของเหล่าสหาย ถ้อยคำในทฤษฎีของโคเพอร์นิคัสแพร่หลายไปทั้งยุโรป เชื่อกันว่าแม้แต่พระสันตะปาปาเองก็พอรู้แต่ยังไม่ดำเนินการใดๆ กับแนวคิดรูปแบบที่ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในตอนต้น จนกระทั่งปี ค.. 1616  ศาสนจักรจึงประกาศห้ามเผยแพร่ตำราที่โคเพอร์นิคัสพิมพ์ออกมาเพราะมีเนื้อหาลบหลู่ศาสนา แต่ระบบสุริยะของโคเพอร์นิคัสได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้คนส่วนใหญ่ไปแล้ว
ทฤษฎีไม่ลงตัว
                ในที่สุดก็มีการพิมพ์ On the Revolutions of Celestial Spheres ออกมาในปี ค.. 1543 แต่ด้วยความทรงพลังและแนวปฏิบัติความคิดในทฤษฎีของโคเพอร์นิคัส ผู้รู้จำนวนมากจึงปฏิเสธตำราเล่มนี้  เหตุผลบางส่วนอาจเป็นเพราะผู้เขียนสร้างจุดอ่อนขึ้นเองจากการขาดความเรียบง่ายแห่งแนวคิดเบื้องต้นของเขา เพราะไปเกาะติดความเชื่อของอาริสโตเติสที่ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์มีลักษณะเป็นวงกลมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันเรารู้ว่าไม่ใช่จึงตีความได้ว่าโคเพอร์นิคัสจำใจนำเรื่องระบบวงกลมลงเล็ก (epicycle) ของตนเองและการเคลื่อนที่แบบซับซ้อนอื่นๆ เข้ามาเพื่อให้เข้ากับหลักฐานที่ได้จากการสังเกต ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้คำอธิบายของเขาจึงซับซ้อนพอๆ กับคำอธิบายที่ว่าด้วยโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลที่เขาได้ปฏิเสธมาก่อนในตอนต้น เพราะทฤษฎียังขาดความเรียบง่ายนั้นเอง จนมาถึงปี ค.. 1609 โยฮันส์ เคปเลอร์ เสนอว่าดาวเคราะห์มีวงโคจรเป็นรูปไข่ ไม่ใช่วงกลมนั้นแหละคำอธิบายอย่างเรียบง่ายที่โคเพอร์นิคัสแสวงหาตลอดมาจึงเกิดขึ้น และช่วยกู้เกียรติยศส่วนที่เหลือของรูปจำลองกลับคืนมา
บุรุษแห่งความขัดแย้ง
                โคเพอร์นิคัสได้รับการเลี้ยงดูจากลุงฝ่ายมารดา คือ ลูคัส บิชอพแห่งเออเมแลนด์ (Lucas, the Bishop of Ermeland) และได้ปริญญาเอกทางด้านกฎหมายของพระคริสต์ที่มหาวิทยาลัยเฟอรารา (Univerity of Ferrara) เมื่อปี ค.. 1503 ซึ่งในเวลานั้นเขาบวชเป็นพระที่โบสถ์เฟราเอนเบิร์กอยู่แล้ว ตลอดชีวิตของโคเพอร์นิคัส เขาต้องต่อสู้กับความขัดแย้งทางความคิดของตนเองระหว่างคณิตศาสตร์กับความศรัทธาต่อศาสนา ที่จริงแล้วเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่เขาไม่ยอมตีพิมพ์ผลงานของตนก็ด้วยเกรงว่า จะไปขัดแย้งกับพระคัมภีร์ไบเบิล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น